การจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน
(Asset
Liability Management - ALM) มีความสำคัญกับทุกวงการ
และยิ่งมีความสำคัญมากจนถึงขั้นมากที่สุดในวงการประกันภัย
เพราะถ้าคร่ำหวอดอยู่กับวงการมานาน
จะรู้ว่าบริษัทประกันภัยหลายแห่งในโลกนั้นได้ปิดกิจการหรือล้มละลายก็เพราะว่าทำ Asset
Liability Management ได้ไม่รัดกุมเพียงพอ และการทำ Asset
Liability Management นั้นก็ยิ่งมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นภายในกรอบของ
RBC (Risk Based Capital) ที่ถูกกำหนดให้นำมาใช้
เรียกได้ว่าถ้าทำ Asset Liability Management ได้ไม่ดีก็จะส่งผลให้บริษัทต้องถือ
“มูลค่าเงินกองทุนขั้นต่ำ” ที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่งผลให้คนที่ทำ RBC หนาวกันไปตามๆ กัน
เรียกได้ว่าหัวใจของการจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน
(Asset
Liability Management) คือการบริหารเงินส่วนเกินของสินทรัพย์ (Asset)
ที่มีค่ามากกว่าหนี้สิน (Liability) โดยตั้งอยู่บนความเสี่ยงที่รับได้
ซึ่งเงินส่วนเกินของสินทรัพย์ (Asset) ที่มีค่ามากกว่าหนี้สิน
(Liability) นั้นจะเรียกกันว่า ส่วนของเจ้าของ
ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือเงินทุน ก็ว่าได้
ถ้าเราแปลกันตรงตัวของคำว่า
Asset
Liability Management ก็จะหมายความว่าการจัดการสินทรัพย์กับหนี้สิน
แต่ในที่นี้จะเป็นการบริหารจัดการ“ความสัมพันธ์” ของสินทรัพย์กับหนี้สินซะมากกว่า และตัวย่อของคำนี้ก็คือ
ALM ซึ่งมีการจัดสอนกันจนเป็นหนึ่งในวิชายอดฮิตของแอคชัวรีหรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยกันเลยทีเดียว
การจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน
(Asset
Liability Management)
จึงเป็นการจัดการเงินลงทุนของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นนั้นให้มีภูมิคุ้มกันกับความเสี่ยงที่เข้ามาก่อกวนให้สินทรัพย์และหนี้สินเกิดความผันผวนโดยไม่จำเป็น
และทุกคนที่จะเข้ามาบริหารธุรกิจที่เกี่ยวกับการเงิน ควรต้องรู้ถึงความสำคัญในเรื่องการจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน
(Asset Liability Management) ตลอดจนพื้นฐานของความเข้าใจในด้านการจัดการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจและการลงทุนเบื้องต้น
นอกจากนี้
การจัดการความเสี่ยงในการบริหารจัดการสินทรัพย์และหนี้สินขององค์กร จึงมีไว้เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบกับผลประกอบการของบริษัทได้
อีกทั้งยังสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการบริหารความเสี่ยงอื่นๆ ได้ และการรู้เท่าทันความเสี่ยงทางด้านการเงิน
(Financial
Risk Management) จึงมีความสำคัญต่อการจัดการสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset
Liability Management) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงินทั่วไปที่มีหนี้สินระยะยาว
(Long term liability)
และมีมูลค่าที่ผันผวนกับสภาพอัตราดอกเบี้ยในตลาดได้ง่าย
ผมได้ใช้เวลารวบรวมงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเวลามากกว่า
2 ปี ในระหว่างนั้นก็ได้เอาเนื้อหาเหล่านี้ไปสอนการเงินระดับปริญญาโทให้กับนักศึกษาไปด้วย
ทำให้สามารถปรับแต่งภาษาและวิธีการอธิบายจนให้ได้ภาษาที่เข้าใจง่าย
เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อเป็นการเผยแพร่และสร้างความตื่นตัวของการบริหารจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นให้กับบุคคลทั่วไป
ผมจึงตัดสินใจตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ออกมา 10,000 เล่มในการพิมพ์ครั้งที่ 1
โดยตั้งชื่อหนังสือว่า “ให้เงินทำงาน – การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินอย่างถูกวิธี”
และมอบให้ “ซีเอ็ด” เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม
เป็นต้นไป โดยหนังสือเล่มนี้มีอยู่ประมาณ 180 หน้า ในราคา 222 บาท
เนื่องจากเป็นการพิมพ์ 4 สี และมีรูปภาพประกอบ เพื่อให้อ่านได้ง่าย
และเนื้อหาไม่หนักจนเกินไป โดยหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวการบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงิน
ที่เน้นการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินโดยละเอียดครับ
·
[ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน
(ทอมมี่) – ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทเอไอเอ
รองนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
และประธานคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัยของสมาคมประกันชีวิตไทย ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น