ALM
นั้นสามารถทำได้หลายวิธี
โดยเราจะรวมการวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลความเสี่ยงของธุรกิจทั้งในประเทศและระดับภูมิภาคเข้าด้วยกัน
ซึ่งถ้าจะกล่าวถึงความเสี่ยงทางฝั่งสินทรัพย์แล้วก็คงไม่พ้นความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุน
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ (Fixed Income)
หรือตราสารทุน (Equity) ก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินทั้งนั้น
โดยความเสี่ยงจากอัตราการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) ที่มีต่องบดุล (Balance sheet)
จะมีมากเป็นพิเศษสำหรับบริษัทประกันภัยที่มีมูลค่าของหนี้สินที่ผันผวนกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดค่อนข้างมาก
ความเสี่ยง คือ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Volatility หรือ standard
deviation) ของผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected return) เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงจากการลงทุน (Investment risk) ก็คืออะไรก็ตามที่ทำให้ผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected return) ของสิ่งที่ไปลงทุนมีความไม่แน่นอน
ความเสี่ยงจากการลงทุนที่เกิดขึ้นทางฝั่งสินทรัพย์สามารถจำแนกเป็นหมวดใหญ่ๆ
ได้ดังนี้
1.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ (Fixed Income)
2.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน (Equity)
3.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Property)
4.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในสินค้า (Commodity)
5.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในเงินสกุลอื่น (Currency)
1.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ (Fixed Income)
ตราสารหนี้ (Fixed
Income) คือ ตราสารการเงินที่มีอายุการลงทุนมากกว่า 1 ปี
โดยมีผลตอบแทนคงที่ตามที่ระบุเอาไว้ในสัญญา ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล (Government
bond) พันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเอกชน (Corporate bond) หรือ หุ้นกู้ (Debenture) เป็นต้น
กรมธรรม์ประกันภัยจะต้องมีการกำหนดผลตอบแทนที่ระบุลงไปในสัญญากรมธรรม์
บริษัทประกันภัยจึงนิยมลงทุนเบี้ยประกันภัยที่รับเข้ามาลงไปในตราสารหนี้ (Fixed
Income) ให้มากที่สุดเพื่อที่จะได้ทำการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินโดยเฉพาะความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยได้
นอกจากความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย
(Interest rate risk) แล้วก็ยังมีความเสี่ยงที่แฝงตัวอยู่อีกมากมาย
เช่น Reinvestment risk, Prepayment risk, Credit risk, Liquidity risk,
Yield curve risk, Volatility risk, Inflation risk, Political
risk, Event risk, และอื่นๆ เป็นต้น
2.
ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน (Equity)
ตราสารทุน (Equity)
คือ
ตราสารการเงินที่ผู้ซื้อมีส่วนของความเป็นเจ้าของกับสินทรัพย์นั้น
ซึ่งก็หมายความว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจการและร่วมได้ร่วมเสียกับผลประกอบการของบริษัททั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น หุ้น (Common stock) เป็นต้น
แต่สิ่งที่แตกต่างกันสำหรับคนที่ซื้อหุ้นกับการเป็นเจ้าของกิจการเองก็คือ
คนซื้อหุ้นหรือตราสารทุนนั้นสามารถหลีกเลี่ยงจากสภาวะล้มละลายได้
เพราะถ้ากิจการประสบผลการขาดทุนอย่างหนักจนสูญเสียความสามารถในการชำระหนี้ได้ในอนาคตไปแล้ว
กระดาษที่ซื้อไว้แผ่นนั้นก็จะมีมูลค่าเหลือเท่ากับศูนย์บาทแล้วก็แยกย้ายกันไป
แต่ถ้าเป็นเจ้าของกิจการเองแล้วก็จะต้องถูกศาลสั่งให้อยู่ในสภาวะล้มละลายและจะต้องไปขายทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้คืนให้ได้ทั้งหมด
ความเสี่ยงจากตราสารทุนที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ
ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาของตราสารทุนในตลาด
อย่างที่คนทั่วไปจะเห็นก็คือการแกว่งตัวขึ้นลงของหุ้นนั่นเอง
ในภาษาของนักจัดการความเสี่ยงจะเรียกว่า Market Risk ซึ่งก็คือความเสี่ยงที่ราคาตลาดของกระดาษที่ถือไว้อยู่จะมีมูลค่าเปลี่ยนไป
ผมได้รวบรวมประสบการณ์ในการจัดการบริหารความเสี่ยงและเขียนออกมาเป็นหนังสือ
และถึงแม้ว่าเนื้อหาจะออกแนววิชาการ แต่ได้เขียนให้อ่านเข้าใจง่าย
ไม่เป็นวิชาการมากเกินไป จึงเหมาะกับบุคคลทั่วไปที่สนใจในการบริหารความเสี่ยง
นอกจากนั้น หนังสือเล่มนี้ ยังได้แนะแนวเทคนิคการลงทุน ซึ่งแสดงถึงข้อดีและข้อเสียของความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ไว้
อีกด้วย
สามารถหาซื้อหนังสือ
“ให้เงินทำงาน – การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินอย่างถูกวิธี” ได้ตามร้านหนังสือ
“ซีเอ็ด” ที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายทั่วประเทศ โดยหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวการบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงินที่เน้นการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินโดยละเอียดครับ
·
[ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน
(ทอมมี่) – ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทเอไอเอ
รองนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
และประธานคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัยของสมาคมประกันชีวิตไทย ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น