วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

Mortality vs Dharma (อัตรามรณะ vs อัตตาแห่งธรรมะ)

ทราบไหมครับว่าตามสถิติของโลกในปัจจุบันนี้ ปรากฎว่ามีคนตายเกือบ 2 คนในทุกๆ วินาที (อ่านจบประโยคนี้ก็มีคนตายเพิ่มอีกละ) ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าคุณมีชีวิตยืนยาวได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ก็จะมีโอกาสได้เห็นคนถึงเกือบ 4 พันล้านคนที่ล้มหายตายจากไปในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่ในโลกแบนๆ ใบนี้ (ตามที่ได้คำนวณไว้ในอัตรามรณะตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย) และก็เป็นความจริงที่หลีกหนีไม่พ้นว่าคุณอาจจะต้องเป็นหนึ่งในสี่พันล้านคนเข้าในซักวินาที ซึ่งถ้าลองกลับมาคิดดีๆ แล้วก็จะตระหนักว่า “ชีวิตคนเรานั้นช่างสั้นยิ่งนัก”

นอกจากสัปเหร่อกับอาชีพหมอแล้วก็น่าจะมีแอคชัวรีที่เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเคยได้ยินคำว่า ตาย จนชินหูในที่ทำงานทุกวัน

 นอกจากสัปเหร่อกับอาชีพหมอแล้วก็น่าจะมีแอคชัวรีที่เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเคยได้ยินคำว่า ตาย จนชินหูในที่ทำงานทุกวัน โดยถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วก็จะเห็นว่ามันเป็นค่าสถิติหรือตัวเลขที่เก็บข้อมูลมาให้แอคชัวรีเอาไว้ใช้วิเคราะห์เท่านั้น ถึงแม้ว่าใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานในสายอาชีพนี้จะไม่ค่อยชอบเวลาที่ได้ยินกับคำว่า “ตาย เท่าไรนัก ยิ่งคำพูดที่ใช้สื่อสารกันในเวลาทำงานเพื่อที่จะออกแบบประกันหรือผลประโยชน์ความคุ้มครองชีวิตเป็นในทำนองการจำลองสถานการณ์สมมติว่า ถ้าตายไปด้วยเหตุนั้นจะจ่ายอย่างนี้หรือด้วยเหตุนี้จะจ่ายอย่างนั้นแล้ว มันก็ฟังดูน่าพิลึกเพราะเหมือนการไปแช่งเพื่อนร่วมงานกันเองให้ตายอยู่ทุกวัน บางคนก็ถือเหมือนกันกับเรื่องนี้ แต่เอาเป็นว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้เหมาะกับความต้องการของสังคมก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับคนในสังคมได้อีกทางหนึ่ง และประเทศไทยก็ยังขาดบุคคลาการที่จะพัฒนาทางด้านนี้อยู่อีกเป็นจำนวนมาก

 แอคชัวรีหรือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ทำงานในบริษัทประกันชีวิต จำเป็นจะต้องคลุกคลีและมีข้อมูลของความเป็นไปได้ที่จะมีอัตราการตาย หรือที่เรียกกันว่า “อัตรามรณะ” ของคนแต่ละอายุ แต่ละเพศ ของแต่ละประเทศเอาไว้ใช้ เพื่อเป็นสถิติในการวิเคราะห์และคำนวณความเป็นไปได้ต่างๆ ในการประเมินความเสี่ยงทางด้านการเงินในอนาคต

ซึ่งตามความน่าจะเป็นทางสถิติก็จะทำให้รู้ว่าตัวเราเองจะน่าจะลาจากโลกนี้ไปเมื่อไร รู้ว่ามีโอกาสที่จะตายในปีนี้เท่าไร และโอกาสที่จะตายในปีหน้าเป็นเท่าไร รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่จะทำให้มีความน่าจะเป็นที่จะอายุสั้นลงเท่าไร หรือแม้กระทั่งรู้ว่าถ้าอายุประมาณนี้จะมีความน่าจะเป็นที่จะได้อยู่ชมโลกถึงอายุเท่าไร ถ้าแอคชัวรีมีระบบฐานข้อมูลที่ดีพร้อมแล้วก็จะสามารถคำนวณความน่าจะเป็นที่อยากจะรู้ได้ทุกอย่างโดยเอาสถิติประยุกต์มาใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์

คำว่า “อัตรามรณะ จึงเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งของแอคชัวรี เปรียบเสมือนกับวัตถุดิบหรืออะไหล่ในการสร้างเครื่องยนต์ ถ้าไม่มีอัตรามรณะ แอคชัวรีก็ไม่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์แบบประกันชีวิตให้กับสังคมได้ แต่แม้ว่าจะคลุกคลีกับอัตรามรณะหรือพูดคำว่า “ตาย” อยู่จนชินหูแค่ไหนก็ตาม ในส่วนลึกๆ มันก็ยังเป็นเหมือนเรื่องไกลตัว เนื่องจากแอคชัวรีจะมีเพียงข้อมูลการตายและตัวเลขที่เก็บข้อมูลมาใส่บนกระดาษเท่านั้น

อัตรามรณะ คือ ตัวเลขทางสถิติที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่คนแต่ละอายุ แต่ละเพศจะตายลงเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น อัตรามรณะของชายไทยอายุ 65 ปี ที่ไม่สูบบุหรี่ และมีสุขภาพปกติ เท่ากับ 5% ก็หมายความว่า ในจำนวนบุคคลในกลุ่มนี้ 100 คน จะมี 5 คนที่จะมีโอกาสเสียชีวิตภายในช่วงอายุ 65 ปี จนกระทั่งย่างเข้าอายุ 66 ปี เป็นต้น

 
ดังนั้น เมื่อใดที่หยุดจากงานและมีเวลาว่างเป็นของตัวเองเมื่อไร เราก็น่าจะหาโอกาสมานั่งทำความเข้าใจกับสัจธรรมของชีวิตเพื่อเตือนสติและเข้าถึงตัวเองให้มากขึ้น



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น