วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

อัตตากับแอคชัวรี

อัตตากับแอคชัวรี

 นั่งริมธารครุ่นวิจารการเกิดดับ เปลี่ยนปุบปับสายธารทะยานไหล เกิดไอเย็นฟ่องฟุ้งจรุงใจ ดับร้อนได้โดยไม่ต้องลองอาบกิน
อิกทางหนึ่งตลึงแลแน่ใจนัก ถ้าใครผลักตกลงคงแดดิ้น กระทบก้อนหินผาใต้วาริน แล้วจะสิ้น ชีพไปในวังวน... ท่านพุทธทาส

เคยหรือไม่ครับที่ในบางครั้งมีสิ่งบางสิ่งทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นการดับหรือลืมตัวของตัวเราอยู่ได้เป็นเวลาระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน หรือได้รับอารมณ์ซึ่งเป็นความเงียบสงัดไม่ชวนให้เกิดความคิดนึกอะไรก็ตาม นานตลอดเวลาที่ความรู้สึกเช่นนั้นมีอยู่ โดยพอจะสรุปได้ว่าเกิดความสบายทางจิตนั่นเอง(ไม่ใช่จิตหลอน แต่เรียกว่า จิตว่าง) ลักษณะเช่นนี้ทางพระเค้าบอกว่าเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นไปได้มากเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ หรือแม้กระทั่งกับเพื่อนที่เหมาะสม

การไม่ยึดถือตัวตนของตัวเองนี่เองที่เค้าเรียกว่า“การดับไปแห่งอัตตา ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงความดับไปของร่างกายหรือของชีวิต แล้วก็ไม่ได้หมายถึงความรู้สึกการตายด้าน แต่หมายถึง การดับของความรู้สึกที่รู้ว่ามี"ตัวเรา-ของเรา" ซึ่งคงสรุปได้ว่าเป็น "ความดับไปแห่งอัตตา"ซึ่งเป็นภาวะแห่งจิตที่ปราศจากความรู้สึกว่าเป็น “ตัวเรา-ของเรา” นั่นเอง และเมื่อความรู้สึกว่าเป็น“ตัวเรา-ของเรา” ดับไป เชื่อไหมครับว่าจะมีสิ่งอื่นขึ้นมาทดแทนเหมือนสมการเคมี นั่นก็คือภาวะของจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นภาวะแห่งความว่าง เกิดภาวะแห่งความสมบูรณ์ของสติปัญญา และจะทำให้เรามีแต่ความสงบสุขทางใจ
 
ไหนๆ แอคชัวรีก็คลุกคลีกับอัตรามรณะอยู่ทุกวันก็เลยทำให้เกิดความสนใจที่จะทำความเข้าใจคำว่าอัตตาเอาไว้บ้าง และเมื่อพอจะเข้าใจแล้วจึงอยากจะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันให้กันเพราะเมื่อเข้าใจแล้วจะทำให้ได้ประโยชน์หลายด้านมาก และคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านตรรกกะที่เป็นเหตุและผลจะมีความได้เปรียบที่จะมีความรู้เห็นจริงของการดับอัตตา โดยจะเข้าใจได้ว่าการดับได้ซึ่ง"ตัวตน-ของตน" นั้น จะทำให้คนเราทำอะไรได้มากขึ้น เรียนดีขึ้น คิดดีขึ้น มีความสุขขึ้น

 
คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านตรรกกะที่เป็นเหตุและผลจะมีความได้เปรียบที่จะมีความรู้เห็นจริงของการดับอัตตา โดยจะเข้าใจได้ว่าการดับได้ซึ่ง"ตัวตน-ของตน" นั้น จะทำให้คนเราทำอะไรได้มากขึ้น เรียนดีขึ้น คิดดีขึ้น มีความสุขขึ้น

 
และเมื่อดับ "อัตตา"ได้มากเท่าไร ความเห็นแก่ตัวของคนก็ลดลงมากเท่านั้น เพราะมีสติปัญญาหรือเหตุผลมากขึ้น จริยธรรมต่างๆ ก็จะตามมา เช่น ความซื่อสัตย์ ความเห็นแก่ผู้อื่น ความรักใคร่เมตตากรุณา การสารภาพความผิด ฯลฯ ก็จะตามมาอัตโนมัติ ในทางกลับกันถ้าคนเรามีอัตตามากถึงขีดสุด ต่อให้มีกฎหมายที่เข้มงวดเท่าไรก็ยั้งไม่อยู่เพราะเมื่อถึงเวลานั้น คนเหล่านั้นก็จะถึงภาวะหน้ามืดไม่กลัวตายหรือบทลงโทษใดๆ ทั้งสิ้น

กฎหมายเป็นบทบังคับขั้นต่ำ ส่วนบรรษัทภิบาลก็เปรียบเหมือนจริยธรรมในโลกธุรกิจ ดังนั้นถ้าผู้บริหารดับ “อัตตาได้ บรรษัทภิบาลก็จะตามมาเองเช่นกัน ขอเสริมอีกนิดว่าบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) นั้นเป็นการสร้างกลไกควบคุมการดำเนินงานขององค์กรให้โปร่งใสและเป็นธรรมต่อส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ลูกค้า ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ซึ่งการทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยงในธุรกิจเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น