เมื่อเข้าใจในความหมายของทั้ง
ALM และ Interest rate risk แล้ว
ทีนี้ก็สามารถเข้าถึงรายละเอียดในการหาความไวในการแกว่งตัวของมูลค่าในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเกิดผันผวนขึ้นมา
ซึ่งถ้าสินทรัพย์หรือหนี้สินมีการแกว่งตัวจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันมากก็หมายถึงบริษัทมีความเสี่ยงจาก
Interest rate risk มากนั่นเอง
นิยามเบื้องต้นของความไวในการแกว่งตัวของมูลค่าในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเกิดผันผวนขึ้น
ในทางปฏิบัติแล้ว
เราจะบอกว่าความไวในการแกว่งตัวของมูลค่าเป็นจำนวนเท่าของการเพิ่มหรือลดลงของดอกเบี้ย
เช่นสมมติว่ามูลค่าของสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น 5% ถ้าดอกเบี้ยลดลง 1% ก็จะหมายความว่าสินทรัพย์นี้มีความไวเป็น 5 เท่า
จำนวนเท่าของการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยนี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงความไวของการเปลี่ยนแปลง
โดยภาษาทางการเงินจะเรียกความไวของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ว่า “Duration” ครับ
Duration คือ การเปลี่ยนแปลงของราคา (%) ต่อ
การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (%)
อย่างเช่น
ถ้า Duration
เท่ากับ 10 ก็หมายความว่าถ้าดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
1% จะทำให้มูลค่าของสิ่งนั้นๆ ลดลง 10% และถ้าดอกเบี้ยลงลง 1% ก็จะทำให้มูลค่าของสิ่งนั้นๆ
เพิ่มขึ้น 10% เช่นกัน
ความหมาย
Duration
อีกอย่างหนึ่งนั้นสามารถหาได้จากสมการทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน
ซึ่งโดยหลักการแล้วมันคือการหาความแตกต่างของมูลค่า (Price) โดยการคำนวณช่วงความแตกต่างสั้นๆ
ของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ซึ่งมูลค่าในการคำนวณใดๆ
ก็ตามจะมีผลกระทบมาจากกระแสเงินสดในแต่ละเวลาด้วย ดังนั้น Duration จึงตีความได้อีกอย่างหนึ่งว่ามันเป็นระยะเวลาที่จะได้รับกระแสเงินสดเฉลี่ยของมูลค่ากระแสเงินสดทั้งหมด
เทคนิคเบื้องต้นสำหรับ
Duration
gap และ Duration matching
เมื่อเข้าใจถึงความหมายของ
Duration
แล้วจะเห็นว่า Duration นั้นมีความสำคัญมากในการทำ
ALM เพราะนั่นเป็นตัวบ่งบอกถึงความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย
แต่เมื่อเวลาเราพิจารณาเรื่อง Interest rate risk สำหรับธุรกิจบริหารความเสี่ยงนั้น
เราจะต้องพิจารณาทั้งฝั่งสินทรัพย์และหนี้สินไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น
สิ่งที่เราจะนำมาวิเคราะห์กันก็คือความแตกต่างกันระหว่าง Duration ของสินทรัพย์และหนี้สิน (Duration gap)
ถ้ายิ่งมี Duration gap มาก ก็จะยิ่งมี Interest rate risk มาก
บริษัทจึงต้องทำให้
Duration
ของทางฝั่งสินทรัพย์และหนี้สินนั้นมีค่าใกล้กันมากที่สุด
ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า Duration Matching เพราะฉะนั้นการทำ Duration
Matching นั้นก็คือการจัดการความเสี่ยงที่นำมาใช้แทน Exact
Matching นั่นเอง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางปฏิบัติกันมากที่สุด
ความไวในการแกว่งตัวของมูลค่าในเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเกิดผันผวนขึ้นของทั้งกิจการ (Portfolio Duration)
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นว่าการหาค่าของ
Duration
นั้น ไม่ว่าจะเป็น Duration ของสินทรัพย์หรือหนี้สินก็ตาม
เราจะคำนวณหามาได้เป็นตัวๆ ไป
และเมื่อตีความหมายทางสมการตามหลักคณิตศาสตร์มาจนหมดแล้วก็จะพบว่าค่าของ Duration
นั้นสามารถนำมาเฉลี่ยกันเป็น Duration เฉลี่ยสำหรับสินทรัพย์หรือหนี้สินในบริษัททั้งหมด
หรือที่เราเรียกว่า Portfolio ตามแต่ที่บริษัทจะกำหนดก็ได้
แต่สิ่งที่ต้องพึงระวังก่อนที่จะนำมาเฉลี่ยก็คือ
เราจะต้องสมมติเผื่อไว้ก่อนว่าเวลาที่ดอกเบี้ยขึ้นหรือลงนั้น
จะเป็นการขึ้นหรือลงของดอกเบี้ยพร้อมๆ กันทั้งหมดในทุกๆ
ตราสารไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินที่ถืออยู่ในพอร์ต
ในภาษาทางการเงินเขาจะเรียกว่า “Parallel shift in the yield curve”
สามารถหาซื้อหนังสือ
“ให้เงินทำงาน – การจัดการสินทรัพย์และหนี้สินอย่างถูกวิธี” ได้ตามร้านหนังสือ
“ซีเอ็ด” ที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายทั่วประเทศ โดยหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวการบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงินที่เน้นการจัดการสินทรัพย์และหนี้สินโดยละเอียดครับ
·
[ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน
(ทอมมี่) – ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทเอไอเอ รองนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
และประธานคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัยของสมาคมประกันชีวิตไทย ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น