วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความทุกข์เริ่มต้นมาจากการมีของ “อัตตา” แต่ความอยากมีวิชาและมีปัญญาเป็นที่มาของ“แอคชัวรี”

ความทุกข์เริ่มต้นมาจากการมีของ “อัตตา” แต่ความอยากมีวิชาและมีปัญญาเป็นที่มาของ“แอคชัวรี
 
 
คนทำงานที่เกี่ยวข้องกับด้านตรรกกะย่อมที่จะคิดอะไรที่เป็นเหตุเป็นผลอยู่เสมอ แต่ในชีวิตจริงนั้นไม่มีอะไรที่แบ่งออกได้เป็นสีขาวหรือสีดำเสมอไป มันยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่มาเกี่ยวข้องและเป็นตัวกำหนดความเป็นไปได้มากกว่าการวิเคราะห์แค่ตัวเลขแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นชีวิตจริงของคนเราจะต้องใช้ทั้งศาสตร์ (ความรู้ที่เรียนมาอย่างมีตรรกะ)และศิลป์ (เข้าใจและยอมรับถึงความเป็นไป)มาประกอบกันเพื่อจะดำรงชีวิตอยู่และประกอบสัมมาอาชีพได้

 
ความทุกข์เริ่มต้นมาจากการมีของ “อัตตา แต่ความอยากมีวิชาและมีปัญญาเป็นที่มาของ“แอคชัวรี

 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รู้จักกับ “อัตรามรณะ” เป็นอย่างดีแล้ว ก็ควรจะหันมารู้จัก “อัตตาแห่งธรรมะ” เพื่อที่จะเพิ่มความสมดุลให้กับชีวิตบ้าง เนื่องจากการเข้าใจการดับของ อัตตา ที่เป็นการดับได้ซึ่ง"ตัวตน-ของตน" นั้นจะทำให้เราทำอะไรได้มากขึ้น เรียนดีขึ้น คิดดีขึ้น มีความสุขขึ้น

 แอคชัวรีจึงไม่ควรหมกหมุ่นหรือยึดติดอยู่กับตัวเลขจนเกินไป และแอคชัวรีที่ดีก็ควรจะรู้จักการปล่อยวางและดับซึ่ง "ตัวตน-ของตน" ไว้บ้าง เพราะถึงแม้ว่าแอคชัวรีจะได้มีโอกาสเป็นผู้บริหารตั้งแต่อายุน้อยๆ และใครๆ จะบอกว่าแอคชัวรีนั้นเป็นคนเก่งและรอบรู้แค่ไหนก็ตาม การที่นึกว่าตัวเองเก่งคับฟ้าจนทำให้ตนเองลำพองใจนั้น ก็จะนำพามาสู่ซึ่งความหยิ่งทะนงตน และปิดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นแอคชัวรีที่ดีได้ในที่สุด

และถ้าเราสามารถดับ “อัตตา” ได้ บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ก็จะนำพาองค์กรสู่ความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ลูกค้า ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ซึ่งการทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความเสี่ยงได้ในธุรกิจเช่นเดียวกัน

ดังนั้น เราจึง “ไม่ควรยึดถือตัวตนของตัวเอง”หรือที่เรียกว่า “การดับไปแห่งอัตตา ซึ่งก็ไม่ได้หมายว่าจะเป็นการดับไปของร่างกายหรือของชีวิต แล้วก็ไม่ได้หมายถึงความรู้สึกการตายด้าน แต่หมายถึง การดับของความรู้สึกที่รู้ว่ามี"ตัวเรา-ของเรา"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น