วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

นักคณิตศาสตร์แจง"ปลาหมึก"ทายบอลถูก

ที่มา - คมชัดลึก
 

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2553
นักคณิตศาสตร์แจง"ปลาหมึก"ทายบอลถูก

นายพิเชฐ เจียรมณี ทวีสิน (ทอมมี่) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยประจำบริษัทประกันภัยระดับโลกแห่งหนึ่ง กล่าวว่า หากพิจารณาตามหลักความน่าจะเป็น (probability) โอกาส ที่ เจ้าปลาหมึก จะ ทายผลบอลคู่ชนะได้ถูกต้องมีอยู่ราว 70% แต่โอกาสทายถูกต่อเนื่อง หลายนัด มีเพียง 10% หรือต่ำกว่านั้น

กรณีดังกล่าว เขาแยกอธิบายให้เห็นเป็น 2 เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์ปลาหมึกทายผลเลือกทีม เยอรมัน และทีมคู่แข่ง กับอีกเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์แข่งขันจริง ซึ่งมี สองอย่างเช่นกันคือเยอรมันชนะ และ เยอรมันแพ้

" พอปลาหมึกทายเหตุการณ์หนึ่งว่าชนะ คนก็สงสัยว่าทำไมปลาหมึกทายถูก เหตุการณ์ดังกล่าวเปรียบเสมือนกับเรามีเหรียญสองเหรียญอยู่ในมือซ้ายและมือขวา แต่ว่าเหรียญทั้งสองนั้นเป็นเหรียญที่ไม่สมดุล คือมีโอกาสโยนออกเป็นหัวมากกว่า ถ้ามือซ้ายโยนเหรียญหัวก้อยและผลออกหัว (ปลาหมึกเลือกธงเยอรมัน) เช่นเดียวกับมือขวาโยนเหรียญหัวก้อย ผลออกมาเป็นหัวเหมือนกัน (เยอรมันชนะ) โอกาสเป็นไปได ้ มีอยู่ราว 70%"

ความน่าจะเป็นที่ปลาหมึกพอลทายผลถูกถึง 70% มาจากปัจจัยที่เรียกว่า การถ่ายน้ำหนักหรือ bias เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งนักคณิตศาสตร์มักนำมาร่วมพิจารณาสำหรับการประเมินความน่าจะเป็น กรณีปลาหมึกทายผลบอล พิเชฐมองว่า อาจมีปัจจัยทางธรรมชาติจากข้อเท็จจริงที่ว่าปลาหมึกเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ฉลาดที่สุดในโลก ซึ่งอาจช่วยให้มันสามารถจดจำ หรือคุ้นเคยกับลายของ ธงชาติ เยอรมันได้มากกว่าธงชาติอื่น ซึ่งนี่คือเหรียญในมือซ้ายที่พูดถึง ประกอบกับเยอรมันเป็นทีมชาติที่เก่งโอกาสชนะก็เลยบ่อย นี่ก็คือเหรียญที่สองในมือขวา

อย่างไรก็ตาม แม้โอกาสทายผลถูกจากการนำหลายปัจจัยมาพิจารณาร่วมกันสูงถึง 70% แต่พิเชฐเสริมว่า โอกาสที่ปลาหมึกทำนายผลถูกติดต่อกัน 6 ครั้งรวด มีความเป็นไปได้เพียง 10% เท่านั้น  ในโลกแห่งความจริง นักคณิตศาสตร์ยังนำปัจจัยทางสถิติมาร่วมพิจารณาด้วย ทำให้การคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด

 "นักคณิตศาสตร์ไม่ได้ดูแต่ตัวเลขแห้งอย่างเดียว ถ้าดูแต่ตัวเลขอย่างเดียวอาจตีความผิดได้" นายพิเชฐ อธิบาย

นอกจากนี้ เขายังกล่าวด้วยว่า ความเป็นไปได้ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งยังขึ้นอยู่กับการวางสมมุติฐานด้วย และการประยุกต์ใช้จำเป็นต้องดูปัจจัยอีกหลายอย่าง นอกจากปัจจัยทางตรรกะ (science) แล้วยังต้องพิจารณาปัจจัยเชิงศิลปะ (art) ด้วย

นายพิเชฐกล่าวว่า คณิตศาสตร์ความน่าจะเป็นสามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันที่ต้องเลือก และตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ ศาสตร์ความน่าจะเป็นสามารถประยุกต์ใช้กับตลาดหลักรัพย์โดยนักวิศวกรรมการเงิน เช่นเดียวกับนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่ ใช้ออกแบบประกัน โดยทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อมาใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริหารสินทรัพย์ของบริษัท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น