วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักคณิตศาสตร์ กุนซือธุรกิจประกันภัย - โพสต์ทูเดย์

วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2549

หากเอ่ยถึง นักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือ แอคชัวรีแล้ว หลายคนคงตั้งคำถามในใจกันต่างๆ นานา ด้วยความที่ไม่คุ้นหูถึงอาชีพนี้เท่าใดนัก ทว่า ที่สหรัฐอเมริกาไปจนถึงประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนนั้น วัยรุ่นและคนหนุ่มสาวจำนวนมากต่างพยายามแข่งขันกันเพื่อร่ำเรียนกันในสาขาวิชานี้ ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่กำลังบูมรุ่งโรจน์อย่างมากในตลาดแรงงานทีเดียว

เพราะหาก ซีอีโอ เป็นเสมือนกับ เล่าปี่ ผู้กุมอำนาจใหญ่ในแผ่นดินแล้ว แอชชัยรี ก็ไม่ต่างอะไรกับขงเบ้ง ที่เป็นกุนซือหลัก ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนทัพให้ยิ่งใหญ่นั่นเอง

พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย บริษัท อมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (AIA) ประจำสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ประเทศฮ่องกง ผู้คว้าคุณวุฒิ Fellowship of Society of Actuaries (FSA) ด้วยวัยที่น้อยที่สุดเพียง 28 ปี และขึ้นทำเนียบเป็น  1 ใน 4 นักคณิตศาสตร์ประกัยภัยของไทยที่ได้รับคุณวุฒิ FSA จะเผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จขององค์กร ในฐานะ แอคชัวรี ให้ทราบกัน

แอคชัวรี ก็คือ ผู้ที่ทำสิ่งที่ไม่แน่นอน ให้เป็นความแน่นอน ซึ่งบริษัทประกันภัยมีหน้าที่บริหารความเสี่ยง หน้าที่ของเราคือประเมินว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ต้นทุนจะเป็นอย่างไร หากนโยบายของภาครัฐเปลี่ยนไปจะส่งผลอย่างไร อัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร การออกสินค้า การตั้งราคา การจ่ายผลประโยชน์ลูกค้า ตัวแทน การขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการตั้งเงินทุนสำรองควรจะเป็นอย่งไร เพื่อให้บริษัทอยู่รอดและไม่ขาดทุนในอนาคตผ่านทางการต้งสมมติฐานที่แม่นยำที่สุด กุนซือหนุ่มใหญ่กล่าว

พิเชฐ เผยว่า แอคชัวรี มีหน้าที่หลัก 2 อย่างทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับงานหน้าบ้านก็คือ งานทางด้านมาร์เก็ตติ้งหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือหลัก 4 P (Product, Price, Place, Promotion) ในส่วนของ Product นั้นจะดูแลเกี่ยวกับวางแผนการตลาดประสานและติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายเกี่ยวกับกรมธรรม์ต่างๆ รวมไปถึงการจัดทำ Focus Group เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้า เพราะต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

ทางด้าน Price หรือการกำหนดราคานั้น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การมองสมมติฐานให้ออกเกี่ยวกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องสามารถทำให้หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากการขายกรมธรรม์และการลงทุนของบริษัทให้อยู่ในสัดส่วนที่พอดี

ส่วน Place ในที่นี้คือ ช่องทางการขาย ซึ่ง 90% เป็นการขายกรมธรรม์ผ่านตัวแทน ค่าคอมมิชชั่นสำหรับตัวแทนซึ่งจะมีฝ่ายบริหารตัวแทนไปดูแลจัดการอีกระดับหนึ่ง โดยที่แอคชัวรีมีหน้าที่ในการกำหนดงบประมาณเท่านั้น และสุดท้ายที่ Promotion จะดูแลเรื่องแคมเปญต่างๆ โดยพนวกกับการบริหารต้นทุน ซึ่งทุกสิ่งเป็นเรื่องของอนาคตที่ต้องคำนวณออกมาให้ได้

เห็นงานหน้าบ้านหนักหนาขนาดนี้แล้ว งานหลังบ้านกลับสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยแอคชัวรีจะดูแลด้านการตั้งเงินสำรองของบริษัท โดยการบริการจัดการความเสี่ยง ซึ่งเงินสำรองมี 2 แบบ คือ เงินสำรองที่กรมการประกันภัยกำหนดไว้ และเงินสำรองแบบระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐานระดับสากล ซึ่งสามารถแกว่งตัวได้ตามอัตราดอกเบี้ยด้วย โจทย์ที่ยากก็คือ จะตั้งเงินสำรองอย่างไรให้บริษัทอยู่ได้ถึง 100 ปีข้างหน้า ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในโลกปัจจุบัน

แอคชัวรีมีความสำคัญมากต่อบริษัท เรียกว่า ชี้เป็นชี้ตาย บริษัทนั้นๆ ได้เลย ถ้าสมมติฐานที่ตั้งมาเป็นไปอย่งรอบคอบและสมบูรณ์ดีแล้ว บริษัทก็จะอยู่ได้ แต่หากไม่แม่นยำพอ หรือ ประเมินสถานการณ์ผิดพลาด ก็อาจมีผลให้บริษัทขาดทุนหรือถึงขึ้นล้มเหลวได้ แอคชัวรีหนุ่มใหญ่กล่าว

แน่นอนว่า เมื่อวิชาชีพนี้มีความสำคัญต่อองค์กร แอชชัวรีจึงไม่ใช่อาชีพที่เป็นกันได้ง่ายๆ การจะขึ้นทำเนียบเป็นแอคชัวรีได้นั้น ต้องผ่านการศึกษาและสอบวัดความรู้วัดกึ๋นกันอย่างหนักถึง 8 ระดับ ผ่านทางสอบข้อเขียน การสัมมนา และการทำโครงงานวิชาการโดยที่ไม่มีการเรียนการสอนให้ แต่จะเป็นไปในลักษณะแนะนำให้ศึกษาด้วยตนเองมากกว่า การสอบมีทั้งคณิตศาสตร์ประกัยภัย สถิติ การเงิน เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย งบการเงิน บัญชี วิธีการลงทุน

หากสอบผ่านใน 6 ระดับแรก จะได้รับคุณวุฒิ Associate of Society of Actuaries (ASA) ได้เป็น Qualified Actuary และหากสอบผ่านอีก 2 ระดับสุดท้าย ก็จะได้คุณวุฒิ Fellowship of Society of Actuaries (FSA) เป็นนักคณิตศาสตร์ประกัยภัยชั้นสูงเต็มตัว

การสอบจะเปิดสอบพร้อมกับทั่วโลกปีละ 2 ครั้ง ตัดคะแนนจากผู้เข้าสอบทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 30 40% แรกเท่านั้นจึงจะถือว่าสอบผ่าน ซึ่งปกติแล้วกว่าสจะสอบผ่านระดับหนึ่งต้องสอบกันถึงราว 3 รอบ ขณะที่อายุฌแลี่ยของผู้สอบผ่านระดับ FSA จะอยู่ที่ราว 32 33 ปี ซึ่งการสอบมหาหินนี่เองที่ทำให้หลายคนต้องใช้เวลาหมดไปไม่ต่ำกว่า 10 ปี

ทว่า สำหรับ 1 ใน 4 นักคณิตศาสตร์ประกัยภัยชั้นสูงรายนี้ กลับคว้าคุณวุฒิ FSA มาได้ในเวลาเพียง 4 ปีเท่านั้น หลังจากที่บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์เริ่มสนใจในการนำคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้กับพื้นฐานของธุรกิจ กับช่องทางการขึ้นเป็นแอคชัวรี

ขณะนั้นผมยังไม่เข้าใจว่าแอคชัวรีคืออะไร จึงเข้าไปค้นในเว็บไซต์ มีบทความหนึ่งลงในหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ว่า แอคชัวรีเป็น 1 ใน 5 อาชีพที่ดีที่สุดของคนอเมริกัน ในส่วนของประเทศจีนก็มีความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งแนวโน้มว่าจะต้องการมากขึ้นนับหมื่นคนในอีก 5 ปีข้างหน้า ระบบการศึกษาในจีนก็กำลังตื่นตัว และมีนักเรียนสนใจหันมาเรียนเฉพาะทางด้านนี้เป็นจำนวนมาก

และข้อมูลเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พิเชฐได้เข้าร่วมงานกับ เอไอเอ ก่อนจะพัฒนาไปสูอาชีพในฝันได้ในที่สุด ในขณะที่ผลตอบแทนก็เรียกว่าคุ้มค่ากับความพยายาม โดยพิเชฐเล่าว่า ในอเมริกานั้น ให้ค่าตอบแทนประมาณ 1 แสนเหรียญสหรัฐต่อ ปี สำหรับ FSA สำหรับฮ่องกงอยู่ประมาณ 3 4 หมื่นเหรียญฮ่องกงต่อเดือน และในส่วนของไทยนั้นก็ไม่มากไปน้อยไปกว่าที่ฮ่องกงสักเท่าใดนัก เรียกว่าคุ้มกับที่เหนื่อยมาตลอด 4 ปีเต็มจริงๆ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สยามธุรกิจ - ประกันโลกเปิดศึกล่าซื้อนักคณิตศาสตร์

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ.2549 


ฮ่องกง- นักคณิตศาสตร์ประกันภัยฮ็อต! ทั่วโลกขาดแคลนหนักเปิดเกมซื้อตัวจ้าละหวั่น เผยสหรัฐฯเป็นอาชีพมาแรงติดกลุ่มท็อปไฟว์อาชีพยอดฮิต ผลตอบแทนสูงลิ่ว  ขณะที่จีน-ฮ่องกงแย่งตัวอุตลุด บางค่ายถึงขั้นลักพาตัว  วิเคราะห์ตลาดจีนอยู่ในขาดแคลนมากเพราะกำลังเติบโต ผลิตบุคคลากรไม่ทัน อีกทั้งเรียนยาก  สอบผ่านน้อยมากเพราะต้องเก่งด้านคณิตศาตร์-สถิติเป็นหลัก จับตาตลาดมังกรฟีเวอร์สุดขีด 5 ปีต้องการนักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นคน

นายพิเชฐ  เจียรมณีทวีสิน  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย บริษัทอเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด(เอไอเอ)  ซึ่งเป็น 1 ใน 4 นักคณิตศาสตร์ในประเทศไทยที่ติดคุณวุฒิ Fellowship of Society of Actuaries (FSA) ใบอนุญาตประกอบอาชีพ  ซึ่งทางสถาบัน Society of America (SOA )  จากสหรัฐอเมริกา สถาบันที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกออกให้  เปิดเผยว่า  แนวโน้มของอุตสาหกรรมประกันภัยทั่วโลกจะประสบปัญหาขาดแคลนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอย่างหนักไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาหรือจีน เพราะบุคคลากรที่จบอาชีพนี้มีน้อยมากเนื่องจากเรียนยากและมีโอกาสสอบผ่านน้อยมาก โดยในสหรัฐฯอาชีพนักคณิตศาสตร์เป็นเทรนด์อาชีพที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยมสูงสุดติด 1 ใน 5 อาชีพยอดฮิตร่วมกับอาชีพอื่นๆ อาทิ ทนายความ แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ กราฟฟิก ดีไซน์ เป็นต้น เป็นอาชีพที่ตลาดกำลังต้องการ  ขณะที่ในเอเชียอาชีพนี้เริ่มแพร่หลายและได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับในหลายประเทศอาทิ จีน ฮ่องกง โดยเฉพาะในจีนและฮ่องกงกำลังประสบภาวะขาดแคลนบุคคลากรในอาชีพนี้อย่างหนัก

"อาชีพนักคณิตศาสตร์เป็นอาชีพที่ดีที่สุดในอเมริกาตอนนี้ คนที่นั่นอยากทำอาชีพนี้กันมากเป็นอาชีพที่ติดท็อปไฟว์ในอเมริกา  เด็กม.ปลายจะเรียนวิชานักคณิตศาสตร์เยอะมากส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผลตอบแทนสูงด้วย  ขณะที่ในจีนก็ฮิตอาชีพนี้มากเช่นกันทั้งที่เทรนด์บ้านเขามาที่หลังเราแต่เขาโปรโมตกันมากถึงกับมีการลักพาตัวนักคณิตศาสตร์ประกันภัยหรือซื้อตัวกันอุตลุต แม้ว่าในการสอบแต่ละครั้งจะมีคนแห่สอบเพื่อเป็นนักคณิตศาตร์ประกันภัยกันเยอะมากครั้งละประมาณ 5,000 คน แต่มีคนสอบผ่านไม่มากเพราะข้อสอบยากเกี่ยวกับพวกคณิตศาสตร์การเงินและสถิติต่างๆ ขณะที่ภาษาก็เป็นอุปสรรคสำคัญข้อหนึ่งหากเทียบผู้ที่สอบผ่านระหว่างคนไทยกับคนมาเลเซียและฮ่องกงคนไทยจะผ่านน้อยมาก  ผมมองว่าในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดที่อุตสาหกรรมประกันภัยกำลังเติบโตจะมีความต้องการคนในอาชีพนี้มาก คาดว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าจีนจะต้องการนักคณิตศาตร์ประกันภัย 10,000-30,000 คน "

นายพิเชฐกล่าวว่า  สาเหตุที่อาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมเนื่องจาก  นักคณิตศาสตร์เปรียบเหมือน"กุนซือ"บริษัทหรือ  CFO ดูแลด้านการเงิน การบริหารความเสี่ยงทั้งหมดและดูแลในเรื่องของการตั้งเงินสำรองตามหลักเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนดด้วยเนื่องจากลักษณะของธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจการเงินประเภทหนึ่ง จึงต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงเฉพาะที่เรียกว่า Risk Management  โดยหน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะต้องเป็นผู้คำนวณสิ่งที่ไม่แน่นอนคือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน   อาทิ ราคาเบี้ย ต้นทุนควรจะอยู่ที่เท่าไร อัตราดอกเบี้ยระดับใด เป็นต้น และต้องประมาณการณ์ตัวเลขต่างๆ อย่างถูกต้องแม่นยำเพราะหากผิดพลาดอาจจะทำให้ธุรกิจขาดทุนได้  เช่นในอีก 100 ปีข้างหน้าหากมีการเคลมเกิดขึ้นเป็นมูลค่ามากกว่าตัวเลขที่บริษัทประมาณการณ์ไว้ก็จะทำให้บริษัทขาดทุน   เป็นต้น























สำหรับหน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมี 2 ประการ คือ 1.หน้าบ้าน และ 2. หลังบ้าน โดยหน้าบ้านคือ ตามหลักการตลาด   4 P  เริ่มจาก

 1. ตัวสินค้า(Product) ต้องติดต่อกับฝ่ายตลาดและตัวแทนเพื่อเก็บข้อมูลของลูกค้านำมาวางแผนในการกำหนดราคาสินค้าว่าควรจะขายราคาใด  ผลตอบแทนเท่าไร  ต้องให้เหมาะสมกับช่องทางขาย   ผู้ถือหุ้นบริษัท ภาครัฐด้วย  ต้องดูว่าแบบประกันเป็นแบบไหน เช่น ถ้าเป็นประกันแบบชำระเบี้ยครั้งเดียวหรือซิงเกิล พรีเมี่ยม ต้องรู้ว่ามีความเสี่ยงอย่างไร  ยกตัวอย่างในญี่ปุ่นจะนิยมขายกรมธรรม์ซิงเกิล พรีเมี่ยมมากและเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดภาวะเงินฝืด บริษัทประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจ่ายคืนผลตอบแทนให้กับลูกค้าได้ ดังนั้นการกำหนดเบี้ยและผลตอบแทนจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งอัตรามรณะ  ความยั่งยืนของลูกค้า อัตราการยกเลิกกรมธรรม์ การลงทุน เป็นต้น 

 2. ราคา(Price) เป็นการตั้งสมมุติฐานราคาสินค้าว่าควรจะอยู่ระดับใดต้องดูภาวะดอกเบี้ยประกอบ เช่น ในอีก 20 ปีข้างหน้าดอกเบี้ยควรจะเป็นเท่าไหร่ ราคาเบี้ยควรจะอยู่ตรงไหนไหน เพราะเป็นเรื่องการขายในอนาคต  ซึ่งการตั้งราคาต้องให้เหมาะสมกับสินทรัพย์ลงทุนด้วย  ต้องประสานกับฝ่ายลงทุน เพื่อกำหนดดอกเบี้ยในกรมธรรม์ กำหนดประเภทการลงทุนที่จะรองรับกรมธรรม์  เช่น ลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้น เพราะสิ่งสำคัญคือผลตอบแทนการลงทุนจะต้องสมดุลกับดอกเบี้ย 

 3.ช่องทางจำหน่าย (Place)  95% จะขายผ่านตัวแทนดังนั้นต้องพิจารณาการให้ค่าคอมมิชชั่น  ต้องกำหนดราคาค่าคอมมิสชั่นให้สอดคล้องกับช่องทางจำหน่ายอาทิ ขายผ่านตัวแทน ขายผ่านธนาคารค่าคอมมิสชั่นจะต่างกัน 

 และ4. การส่งเสริมการขาย (Promotion)  เช่น ต้นทุนในการออกแคมเปญต่างๆ ต้องให้สอดรับกับราคาสินค้า ส่วนงานหลังบ้านดูภาพรวมของบริษัท ในเรื่องของการตั้งสำรองให้บริษัทอยู่รอดในอีก 100 ปีข้างหน้า จัดการความเสี่ยงอย่างไร วิธีลงทุน อัตรามรณะอย่างไร

งานหลักๆในส่วนนี้ได้แก่
1.การตั้งสำรองและระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐานสากล
2.การจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ (Asset Liability Management)  
3.การประกันภัยต่อ จัดหาการประกันภัยต่อด้วย และที่สำคัญต้องมีหน้าที่เซ็นเงินสำรองและเซ็นรับรองราคาเบี้ยประกันแต่ละกรมธรรม์ด้วย

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รู้จัก! นักคณิตศาสตร์ประกันภัย "มนุษย์ทองคำ"ตัวจริง - แนวหน้า

ปีที่ 27 ฉบับที่ 9128 วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549
โดย วราภรณ์ เทียนเงิน



ในธุรกิจประกันชีวิตและประกันภัย นอกจากทีมนักขายแล้ว อีกกลุ่มคนทำงานกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนสำคัญก็คือผู้คิดค้นผลิตภัณฑ์ หรือเรียกอย่างเป็นทางการนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งปัจจุบันเป็นอาชีพหนึ่งที่มีจำนวนแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด

คุณพิเชษฐ เจียรมณีทวีสิน หรือ ทอมมี่ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย คณิตศาสตร์ประกันภัยบริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด คือนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ที่อายุน้อยที่สุดในเมืองไทย บอกกับมุมมองนักบริหาร ถึงการการตัดสินใจเข้าสู่อาชีพนี้

คุณพิเชษฐ์ หรือที่เพื่อนักๆมักเรียกว่า"ทอมมี่" บัญฑิตหนุ่ม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปัจจุบันได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท Science of Financial  Engineering ที่ City University of Hong Kong บอกกับว่าตั้งแต่เรียนจบมาที่จุฬาลงกรณ์ก็ตัดสินใจว่าจะทำงานด้านใดดี มองดูเพื่อนคนอื่นๆ ที่จบมาพร้อมกัน บางคนเลือกที่จะเรียนต่อ บางคนเลือกที่จะทำงาน บางคนได้ทุนการศึกษาในการเรียนต่อต่างประเทศ
แต่คุณทอมมี่เองเขาเลือกทำงานที่บริษัทมิชลิน เพราะมีการฝึกงานและมีการเทรนด์คนที่ดีด้วย หลังจากนั้นได้เลือกเข้ามาทำงานที่เอไอเอเพราะเห็นว่า ตำแหน่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เป็นอาชีพที่คนในสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะทำงานเป็น 1 ใน 5 อันดับแรก เป็นสิ่งที่คนต้องการเข้าทำงานเป็นอันดับแรกๆ
ทั้งนี้ ทอมมี่ เป็นหนึ่งในสี่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยของไทยที่ได้รับคุณวุฒิ Fellowship of Society of Actuaries (FSA) ของสหรัฐ ซึ่งจะต้องมีการสอบที่ยากมากอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า Actuaries
ทอมมี่ บอกว่าเป็นอาชีพที่ขาดแคลนในไทยมาก มีเพียง 4 คนในไทยเท่านั้น ในต่างประเทศทั้งจีน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมมาก โดยในฮ่องกงมีการเปิดมหาวิทยาลัยที่สอนทางด้านนี้เฉพาะด้วยแต่ในไทยยังไม่มี
เขาบอกว่านักคณิตศาสตร์ประกันภัย ตามคำนิยาม จะหมายถึงการแปลจากสิ่งที่ไม่แน่นอน ให้เป็นสิ่งที่แน่นอน ทำงานครอบคลุมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง
สำหรับกลุ่มคนที่มาสอบเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัย จะเรียนจบมาทางด้านวิศวกรรม หรือจบทางด้านคอมพิวเตอร์ก็ได้ การเข้ามาทำงานในตำแหน่งนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้ว สามารถที่จะสอบวัดระดับความรู้เพื่อที่จะได้รับใบประกาศนียบัตร ทางด้าน Fellowship of Society of Actuaries หรือที่เรียกว่า FSA ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้การยอมรับ และมีความสำคัญมาก แต่การที่เป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้ว สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะไม่สอบได้ใบประกาศ FSA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
สำหรับการเรียน FSA นั้นจะมีทั้งหมด 8 คอร์ส เฉลี่ยแล้วจะต้องมีการสอบ 3 ครั้งถึงจะผ่าน 1 คอร์สได้ โดยเฉลี่ยแล้วคนที่ได้ใบประกาศในระดับ FSA จะมีอายุเฉลี่ย32 - 33 ปี และมีคนที่ได้รับใบประกาศตอนอายุ 40 ปีก็มีมาสอบด้วย แต่คุณทอมมี่เองใช้เวลาเรียน FSA เพียง 4 ปีเท่านั้น น้อยกว่าคนอื่นมาก
"ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปีในการสอบข้อเขียน 8 คอร์ส ซึ่งก็มีสอบตก 1 ครั้ง แต่เก็บไปที่ละนิด โดยคนปกติจะใช้เวลาเรียน 10 กว่าปี ซึ่งเมื่อเรียนจบต้องมีการทำโครงงานส่งต่อให้อาจารย์พิจารณาอีกด้วย" ทอมมี่
เขาเล่าว่าการเรียนในวิชาชีพนี้ จะเป็นการเรียนด้วยตนเอง เหมือนกับการเรียนในมหาวิทยาลัยรามคำแหงในไทย ซึ่งที่เรียนจะบอกว่าควรที่จะซื้อหนังสืออะไรมาอ่านบ้าง จะไม่มีครูที่สอนแต่จะเป็นการเรียนด้วยตนเอง แข่งกับตนเองมากกว่า เหมือนกับการอ่านหนังสือใหม่ทั้งหมด
สำหรับวิชาที่เรียนจะมีทั้งด้าน แคลคูลัส เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาคเศรษฐศาสตร์การเงิน งบการเงิน การบัญชี การลงทุน ซึ่งคนเรียนต้องรู้กฎหมาย รู้โลกว่ามีอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง รู้เท่าทันวิทยาการของโลก รู้ว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีอะไรที่จะเกิดขึ้นบ้าง ต้องควรที่จะรู้ว่าจะมีโรคภัยอะไรที่จะเกิดขึ้นบ้าง ดูในส่วนของอัตรามรณะด้วย
"เหนื่อยมาก ในการที่จะสอบ 1 คอร์ส ทำงานเสร็จก็กลับไปอ่านหนังสือต่อที่บ้านวันละ 3 ชั่วโมง และหากเป็นวันหยุดก็จะอ่านหนังสือที่บ้านวันละ 10 ชั่วโมง ในการสอบ 1 คอร์สจะใช้เวลาถึง 300 ชั่วโมงในการอ่านหนังสือ ซึ่งเฉลี่ยแล้วอ่านหนังสือปีละ 1,000 ชั่วโมง แต่บริษัทก็ให้โอกาสว่าตอนใกล้สอบจะให้หยุดไปอ่านหนังสือที่บ้าน 10 วันบางครั้งทำข้อสอบไม่เข้าใจก็จะมีการส่งอีเมล์เพื่อที่จะคุยกับเพื่อนในต่างประเทศ เพื่อที่จะช่วยกันหาคำตอบ"คุณทอมมี่
สำหรับคุณทอมมี่เองใช้เวลาเพียง 4 ปีก็เรียนจบจบ และทำโครงงานส่งอาจารย์ในเวลาเพียง 1 ปี แตกต่างจากคนอื่นที่ต้องใช้เวลา 2 ปีในการทำโครงงาน หลังจากเริ่มทำงานที่ เอไอเอ ใน ฮ่องกง ซึ่งทอมมี่ยอมรับว่าทำให้เขาได้ประสบการณ์เยอะมาก รวมทั้งที่ไทยด้วย การทำงานสัมมนาก็จะทำให้เราได้ประโยชน์มากช่วยในการทำโครงงานส่งอาจารย์ด้วย
เขาบอกว่าการได้ประกาศของ FSA เหมือนกับว่าเป็นใบประกอบวิชาชีพ หรือ License ที่แพทย์ทุกคนได้รับในการประกอบวิชาชีพ ส่วนด้านค่าใช้จ่ายในการเรียน การสอบนั้น บริษัทเอไอเอจะเป็นผู้ออกให้หมด โดยเรียน 1 คอร์ส จะเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนสอบจำนวน 300- 1,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1 หมื่นห้าพันบาท ซึ่งการสอบผ่านแต่ละคอร์สบริษัทก็จะขึ้นเงินเดือนให้ทุกครั้ง สำหรับการสอบวัดระดับ FSA จะให้คนทั่วโลกได้มาสอบพร้อมกันหมด ซึ่งเฉลี่ยแล้วคนที่ผ่านจะอยู่ประมาณ 33-34คน เฉลี่ยแล้วประมาณ 33 - 34 % จากจำนวนประมาณ 100 คน
Actuary จะมี 2 แบบ คือ ในระดับ FSA หรือที่เรียกว่า Quality actuaryคือคนที่เรียนจบแล้ว และในระดับ ASA คือคนที่ยังเรียนไม่จบจะถูกเรียกว่า Actuarial student ซึ่งต้องสอบ ASA ให้ได้ 6 คอร์สก่อน โดยเมื่อสอบได้ในระดับ ASA แล้ว ต้องมีการมาสอบต่ออีก 2 คอร์ส จึงจะได้ในระดับ FSA ในที่สุด รวมทั้งหมดมีการเรียนการสอบทั้งหมด 8 คอร์ส ในไทยนั้นคนที่ได้รับ ASA มีสัดส่วนที่น้อยกว่าคนที่ได้รับประกาศของ FSA เป็นจำนวนหลายเท่า เพราะยังมีคนที่อยู่ระหว่างการเรียน การสอบอยู่
หน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) สูงสุดจะได้เป็นเหมือน CFO ของบริษัท จะดูแลทางด้านการเงิน ดูแลการบริหารความเสี่ยง ซึ่งความเสี่ยงในอนาคตที่จะเกิดขึ้นก็มีอยู่หลายอย่าง บริษัทเองก็ยังไม่รู้ว่าต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีอะไรบ้าง การคำนวณอนาคตว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างนั้นจะเป็นสิ่งที่ยากมาก และต้องมีการคำนวณว่าในอีก100 ปีข้างหน้า ต้นทุนของบริษัทจะมีเท่าใด แล้วจะมีการกำหนดจำนวนเงินออกมาเท่าใดจึงจะทำให้บริษัทสามารถที่จะอยู่รอดต่อไปได้ รวมทั้งต้องมีการคิดแบบประกันด้วยว่าจะออกมาแบบใดในอนาคตไม่ให้บริษัทขาดุทนได้
คุณทอมมี่ระบุว่า การทำงานในตำแหน่งของ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ทำงานดูแลด้านหน้าของบริษัท จะเป็นกลุ่มที่ต้องติดต่อกับฝ่ายการตลาด (Marketing) ดูแลทั้งผลิตภัณฑ์ จัดทำสินค้าออกมาให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า การบริการกับลูกค้า ออกแบบประกันมาให้ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ด้านราคา การตั้งราคาออกมา แบบประกันออกมาให้มีสมมติฐานที่ดี และถูกต้อง ด้านตัวแทน การขายประกันผ่านตัวแทน การกำหนดผลประโยชน์ให้กับตัวแทนที่ดี การจัดงบประมาณผ่านตัวแทน และสุดท้ายโปรโมชั่นคือการจัดทำแคมเปญต่างๆ ออกมา
ส่วนที่ทำงานอยู่ด้านหลังของบริษัท นักคณิตศาสตร์ประกันภัย จะดูแลเรื่องการจัดการบริษัท (Cooperate) การตั้งวงเงินสำรองของบริษัทเพื่อที่จะให้บริษัทสามารถที่จะอยู่รอดในอีก 100 ปีข้างหน้าได้ การจัดการด้านความเสี่ยงว่าในอีก 100 ปีข้างหน้า ขายกรมธรรม์แบบใดในขณะนี้จึงจะเหมาะสมกับอนาคตในอีก 100 ปีข้างหน้ามากที่สุดด้วย
ทอมมี่บอกว่านักคณิตศาสตร์ประกันภัย ได้ค่าตอบแทนสูงมาก ในสหรัฐ จะได้เงินประมาณ 1 แสนเหรียญสหรัฐต่อปี ส่วนในฮ่องกงนั้นจะได้รับผลตอบแทนประมาณ 3-4 หมื่นเหรียญฮ่องกงต่อเดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทด้วย
สำหรับใบประกาศของ FSA ที่ได้รับมานั้น คุณทอมมี่ระบุว่า จะเป็นใบประกาศที่ได้รับมาแล้วอยู่กับเราตลอดไป ไม่มีการเรียกคืนในอนาคตอีก และไม่มีการที่จะสอบวัดความรู้อีก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันแย่งตัวคนที่ได้รับใบประกาศของ FSA สูงมาก ในไทยก็เช่นเดียวกัน "อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ขาดแคลนมาก ทั่วโลกก็ขาดแคลนมากเช่นเดียวกัน เป็นอาชีพที่โตไม่ทันกับความต้องการ สาเหตุที่ขาดแคลนเพราะการที่จะสอบได้ใบประกาศของ FSA ก็สอบผ่านยากมากๆ ต้องใช้เวลาเรียนเป็น 10 ๆ ปี ส่วนคนไทยที่ผ่านมาก็ใช้เวลา 13 ปีในการที่จะสอบผ่านได้ ใบประกาศของ FSA ในสหรัฐเองก็ขาดแคลน ที่ไหนมีความเสี่ยงที่นั้นจะมี Actuary" คุณทอมมี่ กล่าว
สำหรับคนที่ได้รับใบประกาศของ FSA ทั่วโลกมีประมาณ 35,000 คน ในเอเชียมีประมาณ 100 กว่าคน ซึ่งอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่ฮ่องกงนิยมเรียนมาก และฮิตมากเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว ในจีนก็นิยมเรียนเช่นกัน
"คนไทยสอบผ่านได้ใบประกาศ FSA น้อยเนื่องจาก ยังแพ้กับชาวต่างชาติทั้งในเรื่องของภาษา คนอเมริกาเก่งภาษากว่า ส่วนคนจีนก็ขยันมากๆ ทำให้คนไทยยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับต่างชาติได้ และยังไม่เห็นว่าคนที่เรียนจบระดับปริญญาโทในไทย แล้วไปสอบ FSA ผ่านเลยสักคน" คุณทอมมี่ กล่าว

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Actuary "กุนซือ" กุมเกมธุรกิจประกัน - The Nation

โดย จีราวัฒน์ คงแก้ว / cheerawat @ nationgroup.com
ว่ากันว่าถ้าเอ็มดีของบริษัทประกันเปรียบเสมือน "เล่าปี่" นักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็ไม่ต่างอะไรกับ "ขงเบ้ง" กุนซือที่กุมบังเหียนอยู่เบื้องหลัง คอยวิเคราะห์กลยุทธ์ประเมิณเกม ในสหรัฐอเมริกาวิชาชีพนี้กำลังบูม เช่นเดียวกับประเทศจีนที่พ่อแม่เบนเข็มส่งลูกเรียนทางนี้มากขึ้น หากกับประเทศไทยวิชาชีพนี้กลับเป็นเรื่องใหม่และขาดแคลน

"พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน" ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย บริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชชันแนล แอสชัวรันส์ จำกัด หรือ เอไอเอ ประจำสำนักงานใหญ่ประเทศฮ่องกง หนุ่มวัย 28 ปี คือ 1 ใน 4 ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคนไทย ที่ได้รับคุณวุฒิ Fellowship of Society of Actuaries (FSA) ด้วยอายุน้อยที่สุด

ใบคุณวุฒิที่ขึ้นชื่อว่าทั้งหินทั้งสาหัส สำหรับผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยชั้นสูง (Actuary) หลายคนต้องเสียเวลาศึกษาเพื่อจะสอบให้ผ่านถึงระดับนี้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่กับหนุ่มคนนี้ใช้เวลาพิชิตคุณวุฒิดังกล่าวเพียง 4 ปี เท่านั้น

เขาบอกเราว่า แอคชัวรีเป็นวิชาชีพที่ต้องมีคุณวุฒิ ต้องผ่านการสอบและการศึกษาอย่างหนัก และ การสอบเพื่อเป็นแอคชัวรีมีหลายระดับ นั่นคือ การสอบผ่าน 6 คอร์ส ก็จะได้คุณวุฒิ Associate of social of Actuaries (ASA) และสอบอีก 2 คอร์ส ก็จะได้คุณวุฒิ Fellowship of Society of Actuaries (FSA) โดยไม่มีการเรียนการสอน แต่เป็นลักษณะแนะนำให้ศึกษาด้วยตัวเอง แล้วมาสอบ ซึ่งจะต้องผ่านการสอบข้อเขียน การสัมมนา และทำโครงงานวิชาการ เป็นการสอบพร้อมกันทั่วโลก ปีละ 2 ครั้ง โดยจะตัดคะแนนจากผู้ที่เข้าสมัครสอบทั้งหมด ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 30-40% แรกจึงจะผ่านในแต่ละคอร์ส

"การสอบมีทั้งสอบด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย สถิติ การเงิน เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย งบการเงิน บัญชี วิธีการลงทุน ซึ่งแอคชัวรีจะมีอยู่ 2 แบบ คือถ้ายังสอบไม่ครบหมดก็จะเรียกว่า Actuarial student และเมื่อจบแล้วก็จะถูกเรียกว่า Qualified Actuary ซึ่งการจะเป็นแอคชัวรี เราต้องเป็น Qualified Actuary ให้ได้ก่อน แม้จะเรียนจบระดับปริญญาโทมา ก็ต้องมาสอบเป็น FSA อยู่ดี"

ขณะที่คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาสอบตรงนี้เป็นสิบๆ ปี แต่เขาสอบผ่านในเวลาเพียง 4 ปี โดยพิเชฐบอกเราว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทุ่มเทต่อการอ่านหนังสืออย่างหนัก รวมถึงการสอบถามเพื่อนๆ ที่รู้จักกัน การใช้บริการ study group เวบไซต์สำหรับให้ผู้ที่จะสอบ มีเวทีสำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมถึงสามารถสอบถามสิ่งที่ไม่เข้าใจผ่านทางเวบไซต์ดังกล่าวได้ด้วย

ผลตอบแทนของความสำเร็จไม่เพียงค่าวิชาชีพที่ไม่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ในอเมริกานักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะมีรายได้กว่า 100,000 ดอลลาร์ต่อปี ขณะที่ประเทศจีนกำลังโปรโมทอาชีพนี้อย่างหนัก มีผู้สนใจสอบไม่ต่ำกว่า 4-5 พันคนต่อครั้ง โดยเชื่อว่า ในอีก 5 ปี ข้างหน้า นักคณิตศาสตร์ประกันภัยจะกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุด
แต่ที่มากกว่านั้นคือ บทบาททางอาชีพที่เปรียบเสมือน "กุนซือ" กำกับยุทธศาสตร์ขององค์กร

"แอคชัวรีก็คือผู้ที่ทำสิ่งที่ไม่แน่นอน ให้มีความแน่นอนขึ้น ซึ่งบริษัทประกันภัยมีหน้าที่บริหารความเสี่ยง หน้าที่ของเราคือประเมินว่าอนาคตจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ต้นทุนจะเป็นอย่างไร นโยบายของภาครัฐถ้าหากเปลี่ยนไปจะส่งผลอย่างไร อัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร ในวันนี้การออกสินค้า การตั้งราคา การจ่ายผลประโยชน์ลูกค้า ตัวแทน การขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึง การตั้งเงินทุนสำรอง ควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้บริษัทอยู่รอดและไม่ขาดทุนในอนาคต โดยการตั้งสมมติฐานที่แม่นยำที่สุด"

พิเชฐบอกว่า แอคชัวรีมีความสำคัญในบริษัทประกันภัยมาก เรียกว่า "ชี้เป็นชี้ตาย" บริษัทนั้นๆ ได้เลย ถ้าสมมติฐานที่ตั้งมาทำอย่างรอบคอบและดีแล้ว บริษัทก็จะอยู่ได้ แต่หากไม่แม่นยำพอ หรือประเมินสถานการณ์ผิดพลาดมีผลให้บริษัทล้มเหลว และขาดทุนได้

สำหรับภาระหน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย แอคชัวรีหนุ่ม บอกกับเราว่า เป็นการทำงานที่ครอบคลุมหลายๆ ส่วน โดยมีทั้งในส่วนของหน้าบ้านและหลังบ้าน โดยหน้าบ้านเริ่มตั้งแต่ 4P คือ Product Price Place และ Promotion
เขา อธิบายว่า ในการออกผลิตภัณฑ์แต่ละครั้ง แอคชัวรีจะติดต่อกับการตลาด ตัวแทน อาจทำในลักษณะสัมภาษณ์กลุ่ม พูดคุยกับตัวแทนว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไร เพื่อเก็บไอเดียออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์อย่างสมดุล ที่สำคัญต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมด้วย

นอกจากนี้นักคณิตศาสตร์ยังต้องประเมิน เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ดอกเบี้ยมีความผันผวนไหม อัตรามรณะเป็นอย่างไร เทคโนโลยีทางการแพทย์พัฒนาไปแค่ไหน เพื่อประเมินอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่เป็นโรคต่างๆ ที่จะลดลงได้ ทั้งหมดจะบอกกำไรขาดทุนของบริษัทได้

นักคณิตศาสตร์ยังต้องกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสม การกำหนดราคาไม่ยากนัก เพียงแค่คีย์ข้อมูลงลงคอมพิวเตอร์ก็จะมีรายละเอียดออกมาแล้ว แต่สิ่งที่แอคชัวรีจะต้องทำคือมองสมมติฐานให้ออก ว่าดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร บริษัทมีการลงทุนแบบใด ถึงจะได้ผลตอบแทนสอดคล้องผลประโยชน์ด้านกรมธรรม์

"ด้านราคาต้องหนักแน่นเรื่องสมมติฐาน ทำให้แอคชัวรีต้องทำงานร่วมกับฝ่ายลงทุน โดยบอกไปว่าจะลงทุนประมาณนี้ ควรซื้อความเสี่ยงแบบไหน ประมาณเท่าไร เราต้องกำหนดการลงทุนร่วมกับฝ่ายลงทุน เรียกว่าพูดคุยกันว่ามี่ความเป็นไปได้แค่ไหน ก็เสนอไป"

แม้แต่การกำหนดโครงสร้างผลตอบแทนแอคชัวรียังต้องคำนวณว่าควรจะจ่ายผลตอบแทนแก่ตัวแทนในอัตราเท่าไรจึงจะเหมาะสมและบริษัทไม่รับภาระมากจนเกินไป หรือการออกแคมเปญก็ต้องได้ผ่านความเห็นชอบจากแอคชัวรี
เขา บอกเราว่า นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ก็เหมือนนักเศรษฐศาสตร์ บวกกับนักพยากรณ์ รวมถึงต้องมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบริษัทด้วย

"แอคชัวรีต้องมองทุกอย่าง สินค้าที่ต้องขายต้องเป็นแบบไหน อายุของผู้เอาประกันต้องเป็นยังไง ต้องมีเหตุผลว่าทำไมอายุที่ไม่อยู่ในข่ายที่กำหนดถึงซื้อไม่ได้ รวมถึงการจัดการด้านความเสี่ยงการลงทุน เรียกว่าทุกๆ อย่างต้องมองให้ออก ตั้งสมมติฐานให้ได้"

สำหรับงานหลังบ้าน พิเชฐบอกว่า เขาจะดูในส่วนของการจัดการบริษัทอย่างไร เช่นต้องตั้งเงินสำรองอย่างไร ทำอย่างไรที่จะให้บริษัทอยู่รอดได้ในอีก 100 ปี ข้างหน้า ต้องมีวิธีการจัดการอย่างไร ที่จะออกแบบสินค้า วิธีการลงทุน จัดการกับความเสี่ยงอย่างไร รวมถึงบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้สอดคล้องการจ่ายผลประโยน์ลูกค้า ควรมีเงินปันผลอย่างไร และเกี่ยวกับการประกันภัยต่อด้วย โดยแอคชัวรีจะเป็นผู้ไปชอปปิงบริษัทประกันภัยต่อีกที

พิเชฐบอกอีกว่า การที่ธุรกิจประกันในหลายๆ ประเทศ ขาดแคลนนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น เป็นเพราะอาชีพนี้ เติบโตไม่ทันการเติบโตของตลาด

"อาชีพนี้ขาดแคลน เพราะสอบผ่านยากมาก ต้องใช้เวลาสอบเป็นสิบๆ ปี คนไทยที่ผ่านมาก็ใช้เวลาในการสอบให้ผ่านถึง 13 ปี ในขณะที่ต่างประเทศ คนเก่งๆ ก็นิยมเข้ามาสอบ เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่กำลังขาดแคลนเช่นเดียวกัน โดย ทั่วโลกมีแอคชัวรีระดับ FSA ประมาณ 35,000 คน แต่สำหรับประเทศไทยมีเพียง 4 คนเท่านั้น ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องดีถ้าทุกคนหันมาสนใจอาชีพนี้มากขึ้น เช่นเดียวกับเทรนที่เกิดขึ้นทั่วโลกเวลานี้"

"แอคชัวรีต้องมองทุกอย่าง สินค้าที่ต้องขายต้องเป็นแบบไหน อายุของผู้เอาประกันต้องเป็นยังไง ต้องมีเหตุผลว่าทำไมอายุที่ไม่อยู่ในข่ายที่กำหนดถึงซื้อไม่ได้ รวมถึงการจัดการด้านความเสี่ยงการลงทุน เรียกว่าทุกๆ อย่างต้องมองให้ออก ตั้งสมมติฐานให้ได้"
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549