คุยกับแอคชัวรี
– ต้อนรับธุรกิจประกันภัย ปี พ.ศ. 2557
เมื่อมาพิจารณาดูแล้ว
จะเห็นว่าธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีโครงสร้างและลักษณะอุตสาหกรรมที่แตกต่างกับกลุ่มธุรกิจอื่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าของบริษัทประกันภัยก็คือ “กระดาษ”
ที่ระบุถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการทำข้อตกลงของคู่สัญญา
ที่เข้าหลักวัตถุประสงค์ของการประกันภัย ซึ่งถ้าเงื่อนไขที่ระบุใน “กระดาษ”
นั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตคน เราจะเรียกว่า “ประกันชีวิต” แต่ถ้าเงื่อนไขที่ระบุใน
“กระดาษ” นั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งของ เราจะเรียกว่า “ประกันวินาศภัย”
เงื่อนไขที่ระบุนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตคน
เราจะเรียกว่า “ประกันชีวิต”
เงื่อนไขที่ระบุนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งของ
เราจะเรียกว่า “ประกันวินาศภัย”
สินค้าในธุรกิจประกันภัยนั้นจึงเป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้
และยากแก่การทำความเข้าใจในตัวสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจประกันภัย ธุรกิจประกันภัยจึงเป็นธุรกิจที่มีสิ่งที่จับต้องได้คือ
“กระดาษ” และ “ปากกา” เท่านั้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น
ระหว่างลอตเตอรี่ ทิชชู่ และประกัน นั้นก็เป็นสินค้าที่ใช้ “กระดาษ”
เป็นหลักเหมือนกัน แต่สิ่งที่เป็นคำถามชวนคิดคือ ทำไมคนจึงเลือกซื้อลอตเตอรี่ก่อน
หลังจากนั้นจึงมาซื้อกระดาษทิชชู่ ส่วนประกันนั้นก็จะถูกลืมไปในที่สุด เพราะเงินในกระเป๋าหมดพอดี
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างลอตเตอรี่กับประกันก็คือ
ค่าคาดหวังค่าเฉลี่ยของสิ่งที่จะได้กลับคืนมานั้นจะมีมูลค่าน้อยกว่าราคาที่เสียเงินซื้อไป
เพราะแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากขายของขาดทุนเป็นแน่
แต่สิ่งที่ประกันแตกต่างกับลอตเตอรี่ก็คือประกันจะทำหน้าที่คุ้มครองลูกค้าในเวลาที่เกิดความสูญเสียทางการเงิน
(Financial
loss) ที่ไม่คาดฝันขึ้น
(โดยจะจ่ายทุนประทันเป็นเงินคืนให้กับลูกค้า)
ขณะที่ลอตเตอรี่จะจ่ายเงินให้กับคนที่ซื้อก็ต่อเมื่อคนๆ
นั้นถูกหวยตามที่ตัวเองได้คาดฝันเอาไว้
และสิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ “ธุรกิจประกันภัยนั้น
ได้รับเงินมาก่อน แล้วจึงค่อยมีต้นทุนของสินค้าตามออกมาทีหลัง”
ซึ่งก็คงต้องเดากันว่าต้นทุนของสินค้าในแต่ละตัวนั้นจะเป็นเท่าไร ถ้าเดาถูกก็ดีไป
แต่ถ้าเดาไม่ถูกก็จะทำให้บริษัทขาดทุน แล้วถ้าลองมาคิดดูดีๆ แล้วจะเห็นว่า
ต้นทุนสินค้าของบริษัทประกันภัยนั้นจะขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่าง
ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับการประกันชีวิต เช่น อายุ เพศ อาชีพการงาน งานอดิเรก
สุขภาพ โรคประจำตัว และอื่นๆ อีกมากมาย
ที่ทำให้ต้นทุนสินค้าหรือการเคลมของกลุ่มคนแต่ละกลุ่มนั้นมีค่าต่างกัน ส่วนตัวอย่างของการประกันวินาศภัย
ก็ได้แก่การประกันตัวรถยนต์ที่ต้องพิจารณาตั้งแต่อายุการใช้งาน ยี่ห้อ ประเภท
หรือความแรงของเครื่องยนต์ เป็นต้น
ประเทศไทยจึงอาศัยตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยเป็นหลัก
ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีจำนวนตัวแทนประกันชีวิตแล้วประมาณ 300,000 คน และจำนวนตัวแทนประกันวินาศภัยอีกประมาณ
30,000 คน ซึ่งนับเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ส่วนนายหน้าประกันภัย
(โบรกเกอร์) ประเภทบุคคลธรรมดาของประกันชีวิตและประกันวินาศภัยจะมีประมาณอย่างละ
70,000 – 80,000 คน และนายหน้าประกันภัย (โบรกเกอร์) ประเภทนิติบุคคล (รวมถึงธนาคาร)
ของบริษัทประกันชีวิตจะมีประมาณ 200 แห่ง และประกันวินาศภัยจะมีประมาณ 400 แห่ง
ประมาณการทางสถิติ จำนวนบริษัท ตัวแทนประกันชีวิต โบรกเกอร์ (บุคคลธรรมดา) โบรกเกอร์
(นิติบุคคล)
ประกันชีวิต 24 เกือบ
300,000 คน ประมาณ 70,000
คน ประมาณ 200
แห่ง
ประกันวินาศภัย 71 เกือบ 30,000 คน ประมาณ 80,000 คน ประมาณ
400 แห่ง
อย่างไรก็ตาม
ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ผ่านทางธนาคารก็กำลังมาแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจประกันชีวิตที่ทางธนาคารนิยมขายประกันภัยประเภทสะสมทรัพย์กัน
และที่ลืมไม่ได้ก็คือช่องทางการขายตรง ไม่ว่าจะเป็นทางอินเตอร์เน็ต สื่อทางจดหมาย
หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์
ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าเดินเข้ามาซื้อประกันภัยกับบริษัทได้โดยตรง ทั้งนี้ทั้งนั้น
ไม่ว่าจะซื้อผ่านทางช่องทางไหนก็ตาม ลูกค้าควรจะต้องพิจารณาและอ่านสัญญากรมธรรม์ให้ดีก่อนจะตัดสินใจซื้อ
และในขณะนี้คนไทยมีกรมธรรม์ประกันชีวิตถึงมากกว่า
17 ล้านฉบับ ในขณะที่มีกรมธรรม์ประกันวินาศภัยมากถึง 48 ล้านฉบับ
และคาดว่าธุรกิจนี้จะมีการเติบโตมากกว่าปีละ 10 เปอร์เซ็นต์อยู่อีกนานนับ 10 ปี เนื่องจากประเทศไทยยังมีช่องว่างของความคุ้มครองประกันภัยอยู่อีกมาก
อีกทั้ง การประกันภัยยังเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนให้มีอยู่คู่กับการบริหารความเสี่ยงระดับครัวเรือน
เพื่อให้ประชาชนของประเทศมีพื้นฐานสวัสดิการทางด้านนี้อย่างเพียงพอและไม่ทำให้เกิดภาระความลำบากกับคนข้างหลัง
· [ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) – ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทเอไอเอ
รองนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย
และประธานคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัยของสมาคมประกันชีวิตไทย ]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น