วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2557

คุยกับแอคชัวรี – การประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตอน การบริหารความเสี่ยงระดับครัวเรือน


คุยกับแอคชัวรี – การประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ตอน การบริหารความเสี่ยงระดับครัวเรือน

หนึ่งในตัววัดดัชนีของสวัสดิการทางสังคมในประเทศก็คือช่องว่างของความคุ้มครอง (Protection gap) ที่มีอยู่ในระดับครัวเรือน ซึ่งหาได้โดยการประมาณค่าของความสูญเสียทางการเงินที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นและนำมาเปรียบเทียบกับทุนประกันภัยที่มีอยู่ว่าจะมีพอหรือไม่ ซึ่งเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเหล่านี้มีได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการตายที่เหลือภาระให้คนข้างหลัง การเจ็บป่วยที่ทำให้ต้องนำเงินฉุกเฉินออกมาใช้รักษาตัว หรือแม้กระทั่งสิ่งของเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม เป็นต้น

สิ่งที่ภาครัฐให้ความสำคัญ คือความคุ้มครองจากการสูญเสียคนในครอบครัวและทิ้งภาระให้คนข้างหลังไว้ ซึ่งสถาบันครอบครัวของประเทศนั้นเป็นที่มาของรากฐานอื่นๆ ทั้งหมด ทำให้การบริหารความเสี่ยงสำหรับประชากรในประเทศนั้นมุ่งเน้นความสำคัญไปที่การบริหารความเสี่ยงระดับครัวเรือน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาบุคลากรของประเทศให้ขับเคลื่อนไปได้ต่อเนื่อง

และเพื่อให้การประกันภัยที่ว่านี้เข้าถึงแต่ละระดับครัวเรือนมากที่สุด แบบประกันภัยจึงจะต้องมีลักษณะที่ซื้อง่ายขายคล่อง ไม่ต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนกับแบบประกันอื่นๆ ซึ่งการจะทำแบบนี้ให้เป็นรูปเป็นร่างได้จึงต้องเริ่มจากการประกันอุบัติเหตุที่มีราคาไม่แพงนัก

สิ่งที่ต้องการให้ความคุ้มครองหลักในการประกันภัยแบบนี้ก็คือการจ่ายเงินเอาประกันภัยเมื่อมีการตายจากอุบัติเหตุขึ้น และจากนั้นจึงสามารถใส่เครื่องปรุงต่างๆ เพื่อให้แบบประกันมีประโยชน์และมีสีสันขึ้น

เมื่อไม่นานมานี้ ทางคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)  ได้มีโครงการที่จะส่งเสริมเครื่องมือการบริหารความเสี่ยงระดับครัวเรือนในรูปแบบของการประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) ขึ้น โดยได้ร่วมมือกับภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย ในการออกแบบการประกันที่เน้นความคุ้มครองทางด้านอุบัติเหตุ

รายละเอียดของการประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) มีดังนี้

ข้อตกลงคุ้มครอง
จำนวนเงินเอาประกันภัย (บาท)
ข้อ 1. ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า  การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง เนื่องจากอุบัติเหตุ ไม่รวมการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกายและ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
100,000
ข้อ 2. ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียมือ เท้า การสูญเสียสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรมลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
50,000
ข้อ 3. ผลประโยชน์ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 120 วันแรก นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย)
10,000
เบี้ยประกันภัยรวม                                                                                                                             200   บาท/ปี


·         [ พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทเอไอเอ รองนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย และประธานคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัยของสมาคมประกันชีวิตไทย ]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น